วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553


การ เข้าหัว RJ45

เดี๋ยว นี้ คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น ใครมีลูกหลานก็คงจะเห็นชัดว่าเขาเหล่านั้น มักจะมีความสนใจในการแก้ไขปัญหา ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ทั้งที่การเริ่มต้นอาจจะมาจากการเล่นเกมส์ก็ตาม เมื่อเขามีความสนใจก็คงต้องส่งเสริมกันล่ะครับ ต่อมาวิวัฒนาการมากขึ้น การเชื่อมต่อกับโลกภายนอกก็ตามมาถึงในบ้าน ครั้นจะซื้อทุกอย่าง พ่อแม่ก็คงเห็นว่าไม่ค่อยจะมีพัฒนาการในการแก้ไขปัญหา ก็เลยมาถามว่าทำไงให้เด็ก ๆ เหล่านั้นมีความสนใจเรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้นมาบ้าง คำตอบจากพ่อแม่เด็กครับ "ไม่รู้เหมือนกัน" ...วันนี้ก็เลยเอาเรื่องสายเน็ตเวิร์ก หรืออาจจะได้ยินคนเรียกว่าสาย UTP (Unshielded Twisted Pair) มาเล่าสู่กันฟังครับ

ปัจจุบัน สายเน็ตเวอร์กที่นิยมใช้เดินในอาคาร ก็คือสาย UTP หรืออาจจะเรียกว่า 10BaseT หรืออาจได้ยินว่าสาย CAT5 ซึ่งสาย CAT5 จะสามารถรองรับการสื่อสารข้อมูลได้ถึง 100 เมกกะบิตต่อวินาที (100 megabit per second)
สาย CAT5 จะเป็นสายที่มีตีเกลียวกัน 4 คู่ (รวมแล้วมีทั้งหมด 8 เส้น) เราถึงได้เรียกว่า Unshielded Twisted Pair (UTP)
รหัส สีของสาย CAT5 ทั้ง 4 คู่ จะใช้ตามค่ามาตรฐานของ Electronic Industry Association/Telecommunications Industry Association's Standard 568B ดังตาราง

สาย คู่ที่ 1ขาว/น้ำเงิน
น้ำเงิน
สายคู่ที่ 2บาว/ส้ม
ส้ม
สายคู่ที่ 3ขาว/เขียว
เขียว
สายคู่ที่ 4 ขาว/น้ำตาล
น้ำตาล

หัวต่อ (Connectors)
หัวต่อสาย CAT5 UTP เราจะเรียกกันติดปากว่า หัว RJ45 (RJ ย่อมาจาก Registered Jack)
ใน มาตรฐานของ IEEE กำหนดให้ Ethernet 10BaseT ต้องมีสายตีเกลียวเป็นคู่ ๆ และคู่ที่หนึ่งจะเชื่อมต่อเข้ากับขา 1 และ 2 , และ คู่ที่สองจะต่อเข้ากับขา 3 และ 6 ส่วนขา 4 และ 5 จะข้ามไม่ใช้งาน
การ เชื่อมต่อสายตามมาตรฐาน EIA/TIA-568B RJ-45 :
ในการใช้งานจะใช้แค่ 2 คู่ในการรับส่งข้อมูลตามมาตรฐาน 10BaseT โดยใช้คู่ที่ 2 (ขาว/สัม , ส้ม) และคู่ที่ 3 (ขาว/เขียว , เขียว)

คู่ที่ 2ต่อเข้ากับขา 1 และ2ดังนี้:
ขา 1 ใช้สีขาว/ส้ม
ขา2 ใช้สีส้ม
คู่ที่3ต่อเข้ากับ ขา3 และ6ดังนี้:
ขา3 ใช้สีขาว/ส้ม
ขา6 ใช้สีส้ม

ส่วน สองคู่ที่เหลือให้ต่อดังนี้ครับ

คู่ที่ 1
ขา4 ใช้สีน้ำเงิน
ขา5 ใช้สีขาว/น้ำเงิน
คู่ที่ 4
ขา7 ใช้สีขาว/น้ำตาล
ขา8 ใช้สีน้ำตาล

การ เรียงสีให้ดูตามรูปก็ได้ครับ


เมื่อ จัดสีให้ตรงตามแบบแล้ว ก็ทำการตัดให้ปลายเท่ากันแล้วใส่สายเข้าไปในหัว RJ45


โดย ให้ปลายของสายแต่ละเส้นไปชนกับด้านบนสุดของหัว RJ45 เมื่อชนสุดแล้วใช้คีมสำหรับเข้าหัว RJ45 บีบให้แน่น จากนั้นให้ทำเหมือนกันทั้งสองด้าน


สายไข้ว (Crossover Cables)

ในการเข้าสายแบบพิเศษ หรือที่เรียกกันว่า สายไขว้ (Crossover Cable) จะมีการเปลี่ยนตำแหน่งของปลายสายด้านหนึ่งของสายเคเบิล ซึ่งจะสลับกันจาก ขา 1&2 ไปเป็นขา 3&6 และจากขา 3&6 ไปเป็นขา 1&2 ส่วนขา 4&5 และ 7&8 ไม่เปลี่ยนแปลง
เพื่อให้เข้าใจจะมีการต่อสายทั้งสองด้านดังนี้ครับ:
ปลายด้านปกติ (Standard)ปลายด้านไขว้ (Crossover)
ขา 1 ขาว/ส้ม ขา 1 ขาว/เขียว
ขา 2 ส้มขา 2 เขียว
ขา 3 ขาว/เขียวขา 3 ขาว/ส้ม
ขา 4 น้ำเงิน ขา 4 น้ำเงิน
ขา 5 ขาว/น้ำเงิน ขา 5 ขาว/น้ำเงิน
ขา 6 เขียวขา 6 ส้ม
ขา 7 ขาว/น้ำตาลขา 7 ขาว/น้ำตาล
ขา 8 น้ำตาล ขา 8 น้ำตาล
ข้อมูลในตารางจะใช้สำหรับปลายด้านที่เป็นสาย ไขว้ (Crossover End)
คู่ที่ 2ต่อเข้ากับขา 1 และ2ดังนี้:
ขา1 ใช้สีขาว/เขียว
ขา2 ใช้สีเขียว
คู่ที่ 2ต่อเข้ากับขา3 และ6ดังนี้:
ขา3 ใช้สีขาว/ส้ม
ขา6 ใช้สีส้ม

ภาพที่แสดงจะเป็นการเรียง สีของสายที่จะทำเป็นปลาย สายไขว้


เมื่อ สอดปลายของสายแต่ละเส้นไปชนกับด้านบนสุดของหัว RJ45 จากนั้นก็ใช้คีมสำหรับเข้าหัว RJ45 บีบให้แน่น

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การติดตั้งระบบ เครือข่ายแบบมีสาย


การติดตั้งระบบ เครือข่ายแบบมีสาย

ความหมายของระบบเครือข่าย

เครือ ข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (computer network) คือ ระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป เพื่อสะดวกต่อการร่วมใช้ข้อมูล, โปรแกรม หรือเครื่องพิมพ์ และยังสามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องได้ ตลอดเวลา การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล,โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนเนอร์ ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้


ประเภทของระบบเครือข่าย



ระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ

1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN) เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กัน เช่น ภาพในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ระบบเครือข่ายท้องถิ่นจะช่วยให้ติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ

2. เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network หรือ MAN) เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมือง หรือจังหวัดที่ใกล้เคียงกัน เช่น ระบบเคเบิลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไปที่เราดูกันอยู่ทุกวันก็จัดเป็นระบบ เครือข่ายแบบ MAN

3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN) เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง มีสถานนีหรือจุดเชื่อมต่อมากมาย มากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ระบบคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ หรือดาวเทียม

4. เครือข่ายระหว่างประเทศ (International Network ) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อระหว่างประเทศ โดยใช้สายเคเบิล หรือ ดาวเทียม



รูปร่างของเครื่อง คอมพิวเตอร์
ใน เรื่องนี้จะอธิบายถึงโครงสร้างของเครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นพื้นฐานก่อนที่จะอธิบายรายละเอียดต่าง ๆ ของเทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างเครือข่ายในเรื่องอื่นอีก ซึ่งระบบเครือข่ายในทางคอมพิวเตอร์นั้นก็คือ ระบบที่เกิดจากการนำเอาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ พรินเตอร์ สแกนเนอร์ Hub/switch หรืออุปกรณ์อื่น ๆ มาเชื่อมต่อกัน โดยใช้สื่อ (transmission media) ต่าง ๆ เช่น สายเคเบิลชนิดต่าง ๆ ซึ่งอาจทำด้วยทองแดงหรือใยแก้วนำแสง หรืออาจเป็นสื่อแบบไร้สาย เช่น คลื่นวิทยุ อินฟาเรด หรือไมโครเวฟ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดต่อหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน หรือเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การแชร์พรินเตอร์หรือการแชร์ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น โครงสร้างของเครือข่ายหรือภาษาทางเทคนิคเรียกว่า “Topology” คือลักษณะการเชื่อต่อทางกายภาพระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ในระบบเครือข่าย ซึ่งหากจะแบ่งประเภทของโครงสร้างเครือข่ายกันจริง ๆ ตามหลักวิชาการที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยก่อน ๆ นั้น ก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 แบบคือคลิกส่วนนี้เพื่อศึกษาเพิ่มเติม

1. แบบ สตาร์ (Star Network)


2. แบบ ริง (Ring Network)

3. แบบบัส (Bus Network)

4. แบบ ผสม (Hybrid Network)

5. แบบ เมซ (Mesh Network)

โครงสร้างแบบสตา ร์ (Star Network)
ลักษณะการเชื่อมต่อของโครงสร้างแบบสตาร์จะคล้าย ๆ กับดาวกระจาย ดังรูปที่ได้แสดงไว้คือมีอุปกรณ์ประเภท Hub หรือ Switch เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อแบบนี้มีประโยชน์คือ เวลาที่มีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดหรือเสียก็จะไม่มีผลต่อการทำงานของระบบโดย รวมแต่อย่างใด นอกจากนี้หากต้องการเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าไปในเครือข่ายก็สามารถทำได้ ทันทีโดยไม่ต้องหยุดการทำงานของเครือข่ายก่อน การต่อแบบสตาร์นี้เป็นแบบที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากราคาอุปกรณ์ที่มาใช้เป็นศูนย์กลางอย่าง Hub หรือ Switch ลดลงมากในขณะที่ประสิทธิภาพหรือความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนปัจจุบันได้ความเร็วถึงระดับของกิกาบิต (1,000 Mbps) แล้ว






รูปของโครงสร้างแบบ สตาร์ (Star network)


โครงสร้างแบบแหวน (Ring Network)
โครงสร้างแบบนี้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์จะถูกเชื่อมต่อ เข้ากับสายเคเบิลเส้นเดียวเป็นวงแหวนดังรูปที่ได้แสดงไว้ การส่งข้อมูลจะใช้ทิศทางเดียวกันตลอดโดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ถัด กันไปเป็นทอด ๆ ถ้าแอดเดรสของมันไม่ตรงกับผู้รับตามที่เครื่องต้นระบุมา มันก็จะส่งผ่านไปยังเครื่องถัดไป จนกว่าจะถึงเครื่องปลายคือตรงกับใครเครื่องนั้นก็รับ ไม่ส่งต่อ โครงสร้างแบบนี้มีข้อเสียคล้าย ๆ กับแบบบัส คือเมื่อสายเคเบิลช่วงใดช่วงหนึ่งขาดจะทำให้ทั้งระบบใช้งานไม่ได้ อย่างไรก็ตามเครือข่ายแบบวงแหวนมักใช้สายเคเบิลที่มีวงแหวนสำรองที่สามารถ ส่งข้อมูลในทิศทางกลับกัน เพื่อเป็นเส้นทางสำรองในกรณีที่เครือข่ายมีปัญหา ซึ่งราคาแพงพอสมควร นอกจากนี้การเพิ่มเครื่องเข้าไปในเครือข่ายจะต้องปิดการทำงานของระบบก่อน เช่นเดียวกับแบบบัส เครือข่ายแบบนี้ปัจจุบันยังใช้กันอยู่ โดยเฉพาะในเครือข่ายของผลิตภัณฑ์ในตระกูล IBM ซึ่งโดยมากจะเป็นการเชื่อมต่อเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์







รูปแบบโครงสร้างแบบริง (Ring Network)

โครงสร้างเครือข่ายแบบบัส (Bus Network)
คือ ลักษณะการเชื่อมต่อแบบอนุกรม โดยใช้สายเคเบิลเส้นยาวต่อเนื่องกันไปดังรูปที่ได้แสดงไว้ โครงสร้างแบบนี้มีจุดอ่อนคือเมื่อคอมพิวเตอร์ตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหากับสาย เคเบิล ก็จะทำให้เครือข่ายรวนไปทั้งระบบ นอกจากนี้เมื่อมีการเพิ่มคอมพิวเตอร์เข้าไปในเครือข่าย อาจต้องหยุดการใช้งานของระบบเครือข่ายก่อน เพื่อตัดต่อสายเข้าเครื่องใหม่ ส่วนข้อดีคือโครงสร้างแบบบัสนี้ไม่ต้องมีอุปกรณ์อย่าง Hub หรือ Switch ใช้เพียงเส้นเดียวก็สามารถเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่อง ไม่มาก ปัจจุบันไม่ค่อยใช้กันแล้ว เนื่องจากไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มเติม ทำให้ความเร็วถูกจำกัดอยู่ที่ 10 Mbps และถูกทดแทนโดยการเชื่อมต่อแบบสตาร์






รูปแบบโครงสร้างเครือข่าย แบบบัส (Bus Network)
โครงสร้างเครือข่ายแบบผสม (Hybrid Network)
เป็นการเชื่อม ต่อที่ผสนผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งระบบ Hybrid Network นี้จะมีโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tre ที่มีลำดับชั้นในการทำงาน


โครงสร้างเครือข่ายแบบผสม (Hybrid Network)

โครงสร้างเครือข่ายแบบเมซ (Mesh Network)
เป็น Topology ที่ถือว่าป้องกันการผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากเราเดินสาย Cable ไปเชื่อม ต่อกับ Station ทุก Station โดยเมื่อสายจาก Station ใดเกิดมีปัญหาขึ้นก็จะยังสามารถใช้สายอื่นที่เหลืออีกได้ ระบบนี้ยากต่อการ เดินสายและมีราคาแพงมาก จึงยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก



โครงสร้างเครือข่ายแบบเมซ (Mesh Network

เทคโนโลยีเครือข่าย แลน
การ เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่ายแลนนั้น มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสื่อสารข้อมูลระหว่างกัน ได้ทั้งหมดหากนำเครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่องต่อสายสัญญาณเข้าหากันจะทำให้ เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสอง นั้นส่งข้อมูลถึงกันได้ครั้นจะนำเอาคอมพิวเตอร์เครื่องที่สามต่อรวมด้วย เริ่มจะมีข้อยุ่งยากเพิ่มขึ้น และยิ่งถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก ก็ยิ่งมีข้อยุ่งยากที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดสื่อสารกันได้ ด้วยเหตุนี้ผู้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงต้องหาวิธีการและเทคนิคในการ เชื่อมโยงเครือข่ายแบบต่างๆ เพื่อลดข้อยุ่งยาก ในการเชื่อมโยงสายสัญญาณ โดยใช้สายสัญญาณน้อยและเหมาะสมกับการนำไปใช้งานได้ ทั้งนี้เพราะข้อจำกัดของการใช้ สายสัญญาณเป็นเรื่องสำคัญมากบริษัทผู้พัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้พยายามคิดหาวิธี และใช้เทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลภายในเครือข่ายแลน ออกมาหลายระบบ ระบบใดได้รับการ ยอมรับก็มีการตั้งมาตรฐานกลาง เพื่อว่าจะได้มีผู้ผลิตที่สนใจการผลิตอุปกรณ์ เชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่าย เทคโนโลยีเครือข่ายแลนจึงมีหลากหลาย เครือข่ายแลนที่น่าสนใจ เช่น อีเทอร์เน็ต (Ethernet) โทเก็นริง (Token Ring) และ สวิตชิง (Switching)


อีเทอร์ เน็ต (Ethernet)
อีเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่พัฒนามาจากโครง สร้างการเชื่อมต่อแบบสายสัญญาณร่วมที่เรียกว่า บัส (Bus) โดยใช้สายสัญญาณแบบแกนร่วม คือ สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) เป็นตัวเชื่อม สำหรับระบบบัส เป็นระบบเทคโนโลยีที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเชื่อมโยงเข้ากับสายสัญญาณ เส้นเดียวกัน คือ เมื่อมีผู้ต้องการส่งข้อมูล ก็ส่งข้อมูลได้เลย แต่เนื่องจากไม่มีวิธีการค้นหาเส้นทางที่ส่งว่างหรือเปล่า จึงไม่ทราบว่ามีอุปกรณ์ใดหรือคอมพิวเตอร์ เครื่องใดที่ส่งข้อมูลมาในช่วงเวลาเดียวกัน จะทำให้เกิดการชนกันขึ้นและเกิดการสูญหายของข้อมูล ผู้ส่งต้องส่งข้อมูล ไปยังปลายทางอีกครั้งหนึ่ง ทำให้เสียเวลามาก จึงมีการพัฒนาระบบการรับส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์กลางที่เรียกว่า ฮับ (Hub) และเรียกระบบใหม่นี้ว่า เทนเบสที (10 base t) โดยใช้สายสัญญาณที่มีขนาดเล็กลงและราคาถูกซึ่งเรียกว่า สายคู่บิตเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded twisted pair : UTP) ทำให้การเชื่อมต่อนี้ มีลักษณะแบบดาว วิธีการเชื่อมแบบนี้จะมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ฮับ ใช้สายสัญญาณไปยังอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์อื่น ๆ จุดเด่นของดาวตัวนี้ จะอยู่ที่ เมื่อมีการส่งข้อมูล จะมีการตรวจสอบความผิดพลาดว่า อุปกรณ์ใดจะส่งข้อมูลมาบ้างและจะมีการสับสวิตซ์ให้ส่ง ได้หรือไม่ แต่เมื่อมีฮับเป็นตัวแบกภาระทั้งหมด ก็มีจุดอ่อนได้คือ ถ้าฮับเกิดเป็นอะไรขึ้นมา อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ หรือคอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้อีก ภายในฮับมีลักษณะเป็นบัสที่เชื่อมสายทุกเส้นเข้าด้วยกัน ดังนั้นการใช้ฮับและบัสจะมีระบบการส่งข้อมูลแบบ เดียวกัน และมีการพัฒนาเป็นมาตรฐาน กำหนดชื่อมาตรฐานนี้ว่า 802.3 ความเร็วในการส่งกำหนดไว้ที่ 10 ล้านบิตต่อ วินาที และกำลังมีมาตรฐานใหม่ให้สามารถรับส่งสัญญาณได้ถึง 100 ล้านบิตต่อวินาที

โท เก็นริง (Token Ring) โทเก็นริง เป็นเครือข่ายที่บริษัท ไอบีเอ็ม พัฒนาขึ้น รูปแบบการเชื่อมโยงจะเป็น วงแหวน โดยด้านหนึ่งเป็นตัวรับสัญญาณและอีกด้านหนึ่งเป็นตัวส่งสัญญาณ การเชื่อมต่อแบบนี้ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถส่งข้อมูลถึงกันได้ โดยผ่านเส้นทางวงแหวนนี้ การติดต่อสื่อสารแบบนี้จะมีการจัดลำดับให้ผลัดกันส่งเพื่อว่าจะได้ไม่สับสน และมีรูปแบบ ที่ชัดเจน โทเก็นริงที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้มีความเร็วในการรับส่งสัญญาณได้ 16 ล้านบิตต่อวินาที ข้อมูลแต่ละชุดจะมี การกำหนดตำแหน่งแน่นอนว่ามาจากสถานีใด และจะส่งไปที่สถานีใด

สวิ ตชิง (Switching)
สวิตชิง เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาเพื่อให้สามารถรับส่งข้อมูลระหว่างสถานีทำได้เร็ว ยิ่งขึ้น การคัดเลือกชุดข้อมูล ที่ส่งมาและส่งต่อไปยังสถานีปลายทาง จะกระทำที่ชุมสายกลางที่เรียกว่า สวิตชิง รูปแบบของเครือข่ายแบบนี้จะมีลักษณะ เป็นแบบดาว ซึ่งโครงสร้างนี้จะเหมือนกันกับแบบอีเทอร์เน็ตที่มีฮับเป็นศูนย์กลาง แต่แตกต่างกันที่ฮับเป็นจุดร่วมของสาย สัญญาณที่จะต่อกระจายไปยังทุกสาย แต่สวิตชิงจะเลือกการสลับสัญญาณไปยังตำแหน่งที่ต้องการเท่านั้น สวิตชิงจึงมีข้อดี กว่าฮับเนื่องจากแต่ละสายสัญญาณจะมีความเป็นอิสระต่อกันมาก ทำให้รับส่งสัญญาณไม่มีปัญหาเรื่องการชนกัน ของข้อมูล อุปกรณ์ที่ใช้ในการสวิตชิงมีหลายแบบ เช่น อีเทอร์เน็ตสวิตซ์ เอทีเอ็มสวิตซ์เป็นอุปกรณ์การสลับสายสัญญาณในการรับส่งข้อมูลที่มีการรับส่ง กันเป็นชุด ๆ ข้อมูลแต่ละชุดเรียกว่า เซล มีขนาดจำกัด การสวิตชิงแบบเอทีเอ็มทำให้ข้อมูลจากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่งดำเนินไป อย่างรวดเร็ว ซึ่งกำลังได้รับความสนใจและมีแนวโน้มจะได้รับความนิยมมากขึ้น ทั้งนี้เพราะการประยุกต์งานสมัยใหม่หลายอย่าง ต้องการความเร็วสูง โดยเฉพาะการสื่อสารที่มีการผสมหลายสื่อรวมทั้งข้อความ รูปภาพ เสียงและวีดิโอ
LAN โปรโตคอลโปรโตคอล (Protocol) คือระเบียบพิธีการในการติดต่อสื่อสาร เมื่อมาใช้กับเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม จึงหมายถึงขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งรวมถึง กฎ ระเบียบ และข้อกำหนดต่าง ๆ รวมถึงมาตรฐานที่ใช้ เพื่อให้ตัวรับและตัวส่งสามารถดำเนินกิจกรรมทางด้านสื่อสารได้สำเร็จ การที่คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งจะส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ได้นั้น จะต้องอาศัยกลไกหลายๆอย่างร่วมกันทำงานต่างหน้าที่กันและเชื่อมต่อเป็นเครือ ข่ายเข้าด้วยกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นคือการเชื่อมต่อมีความแตกต่าง ระหว่างระบบและอุปกรณ์หรือเป็นผู้ผลิตคนละรายกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้การสร้างเครือข่ายเป็นเรื่องยากมาก เนื่องจากขาดมาตรฐานกลางที่จำเป็นในการเชื่อมต่อ จึงได้เกิดหน่วยงานกำหนดมาตรฐานสากลขึ้นคือ International Standards Organization ขึ้นและทำการกำหนดโครงสร้างทั้งหมดที่จำเป็นต้องใช้ในการสื่อสารข้อมูลและ เป็นระบบเปิด เพื่อให้ผู้ผลิตต่างๆสามารถแยกผลิตในส่วนที่ตัวเองถนัด แต่สามารถนำไปใช้ร่วมกันได้ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยใหม่จะถูกออกแบบให้มีโครงสร้างทีแน่นอน และเพื่อเป็นการลดความซับซ้อน ระบบเครือข่ายส่วนมากจึงแยกการทำงานออกเป็นชั้นๆ (layer) โดยกำหนดหน้าที่ในแต่ละชั้นไว้อย่างชัดเจน แบบจำลองสำหรับอ้างอิงแบบ OSI (Open System Interconnection Reference Model) หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า OSI Reference Model ของ ISO เป็นแบบจำลองที่ถูกเสนอและพัฒนาโดยองค์กร International Standard Organization (ISO) โดยจะบรรยายถึงโครงสร้างของสถาปัตยกรรมเครือข่ายในอุดมคติ ซึ่งระบบเครือข่ายที่เป็นไปตามสถาปัตยกรรมนี้จะเป็นระบบเครือข่ายแบบเปิด และอุปกรณ์ทางเครือข่ายจะสามารถติดต่อกันได้โดยไม่ขึ้นกับว่าเป็นอุปกรณ์ของ ผู้ขายรายใด ด้วยแนวคิดนี้ องค์กรว่าด้วยเครื่องมาตรฐานระหว่างประเทศ จึงได้วางมาตรฐานโปรโตคอลไว้เป็นระดับ เพื่อให้การสื่อสารต่าง ๆ ยึดหลักการนี้และเรียกมาตรฐานโปรโตคอลนี้ว่า OSI PROTOCOL โดยวางเป็นระดับ 7 ชั้น
แบบ จำลอง OSI Layer Reference ModelOSI Model ได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่Application-oriented Layers เป็น 4 Layers ด้านบนคือ Layer ที่ 7,6,5,4 ทำหน้าที่เชื่อมต่อรับส่งข้อมูลระหว่างผู้ใช้กับโปรแกรมประยุกต์ เพื่อให้รับส่งข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ที่อยู่ชั้นล่างได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับซอฟแวร์เป็นหลักNetwork-dependent Layers เป็น 3 Layers ด้านล่าง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับส่งข้อมูลผ่านสายส่ง และควบคุมการรับส่งข้อมูล.ตรวจสอบข้อผิดพลาด รวมทั้งเสื่อกเส้นทางที่ใช้ในการรับส่ง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับฮาร์ดแวร์เป็นหลัก ทำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ต่างบริษัทกันได้อย่างไม่มีปัญหา

การ ส่งผ่านข้อมูลระหว่างชั้น
เมื่อ computer A ต้องการส่งข้อมูลไปยัง computer B จะมีกระบวนการทำงานต่างๆ ตามลำดับดังนี้ข้อมูลจาก Layer 7,6,5 จะถูกนำมาหั่นเป็นท่อนๆ แล้วใส่ข้อมูลบางอย่างต่อเพิ่มเข้าไปในส่วนหัว เรียกว่า Header เพื่อใช้ในการบันทึกข้อมูลที่จำเป็นเช่น หมายเลข port ต้นทางและหมายเลข port ปลายทาง กลายมาเป็นก้อนข้อมูล(Segment) ใน Layer4 ซึ่งเรียกว่า TCP Segmentจากนั้นข้อมูล Layer4 จะถูกส่งผ่านลงไปยัง Layer3 และจะถูกใส่ Header อีกซึ่งเป็นการเพิ่ม header เป็นชั้นๆ เรียกว่า การ Encapsulate ซึ่งในส่วนนี้จะเหมือนกับการเอาเอกสารใส่ซองจดหมายแล้วจ่าหน้าซองระบุผู้ส่ง และผู้รับ คือเป็นการบันทึกหมายเลข ip address ของโฮสต์ต้นทางและโฮสต์ปลายทางไว้ด้วย เมื่อการ encapsulate เสร็จสิ้นจะได้ก้อนข้อมูลที่เรียกว่า packetจากนั้น packet ของข้อมูลจะถูกส่งผ่านไปยังระดับล่างอีก คือส่งไปให้ Layer2 ในชั้นนี้ข้อมูลจะถูกใส่ header เพิ่มเข้าไปที่ส่วนหัวเพื่อเก็บ MAC Address ของต้นทางและปลายทาง และยังมีการใส่ข้อมูล่ต่อเพิ่มเข้าไปในส่วนหางด้วย ข้อมูลที่ต่อเพิ่มไปในส่วนหางนี้เรียกว่า Trailer จึงรวมกันกลายเป็นก้อนข้อมูลของ Layer2 ที่เรียกว่า Frameจากนั้น Frame ข้อมูลจะถูกแปลงให้กลายเป็น bit ของข้อมูลเพื่อส่งไปตามสื่อเข่นสาย UTP,Fiber ต่อไป การส่งสัญญาณทางไฟฟ้าไปตามสื่อต่างๆนี้ เป็นการทำงานในระดับ Layer1 เรียกว่า Physical Layer

หน้าที่ ของแต่ละ LayerLayer7, Application Layerเป็นชั้นที่อยู่บนสุดของขบวนการรับส่งข้อมูล ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้ โดยจะรับคำสั่งต่างๆจากผู้ใช้ส่งให้คอมพิวเตอร์แปลความหมาย และทำงานตามคำสั่งที่ได้รับในระดับโปรแกรมประยุกต์ เช่นแปลความหมายของการกดปุ่มเมาส์ให้เป็นคำสั่งในการก็อปปี้ไฟล์ หรือดึงข้อมุลมาแสดงผลบนหน้าจอเป็นต้นตัวอย่างของ protocol ในชั้นนี้ คือ Web Browser,HTTP,FTP,Telnet,WWW,SMTP,SNMP,NFS เป็นต้นLayer6, Presentation Layerเป็นชั้นที่ทำหน้าที่ตกลงกับคอมพิวเตอร์อีกด้านหนึ่งในชั้นเดียวกันว่า การรับส่งข้อมูลในระดับโปรแกรมประยุกต์จะมีขั้นตอนและข้อบังคับอย่างไร จุดประสงค์หลักของ Layer นี้คือ กำหนดรูปแบบของการสื่อสาร อย่างเช่น ASCII Text,EBCDIC,Binary และ JPEG รวมถึงการเข้ารหัส (Encription)ก็รวมอยู่ใน Layer นี้ด้วย ตัวอย่างเช่น โปรแกรม FTP ต้องการรับส่งโอนย้ายไฟล์กับเครื่อง server ปลายทาง โปรโตคอล FTP จะอนุญาติให้ผู้ใช้ระบุรูปแบบของข้อมูลที่โอนย้ายกันได้ว่าเป็นแบบ ASCII text หรือแบบ binaryตัวอย่างของ protocol ในชั้นนี้ คือ JPEG,ASCII,Binary,EBCDICTIFF,GIF,MPEG,Encription เป็นต้นLayer5, Session Layerเป็น Layer ที่ควบคุมการสื่อสารจากต้นทางไปยังปลายทางแบบ End to End และคอยควบคุมช่องทางการสื่อสารในกรณีที่มีหลายๆ โปรเซสต้องการรับส่งข้อมูลพร้อมๆกันบนเครื่องเดียวกัน (ทำงานคล้ายๆเป็นหน้าต่างคอยสลับเปิดให้ข้อมูลเข้าออกตามหมายเลขช่อง(port) ที่กำหนด) และยังให้อินเตอร์เฟซสำหรับ Application Layer ด้านบนในการควบคุมขั้นตอนการทำงานของ protocol ในระดับ transport/network เช่น socket ของ unix หรือ windows socket ใน windows ซึ่งได้ให้ Application Programming Interface (API) แก่ผู้พัฒนาซอฟแวร์ในระดับบนสำหรับการเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมการทำงานของ protocol TCP/IP ในระดับล่าง และทำหน้าที่ควบคุม "จังหวะ" ในการรับส่งข้อมูล ของทั้ง 2ด้านให้มีความสอดคล้องกัน (syncronization) และกำหนดวิธีที่ใช้รับส่งข้อมูล เช่นอาจจะเป็นในลักษณะสลับกันส่ง (Half Duplex) หรือรับส่งไปพร้อมกันทั้ง2ด้าน (Full Duplex) ข้อมูลที่รับส่งกันใน Layer5 นี้จะอยู่ในรูปของ dialog หรือประโยคข้อมูลที่สนทนาโต้ตอบกันระหว่างต้านรับและด้านที่ส่งข้อมูล ไม่ได้มองเป็นคำสั่งอย่างใน Layer6 เช่นเมื่อผู้รับได้รับข้อมูลส่วนแรกจากผู้ส่ง ก็จะตอบกลับไปให้ผู้ส่งรู้ว่าได้รับข้อมูลส่วนแรกเรียบร้อยแล้ว และพร้อมที่จะรับข้อมูลส่วนต่อไป คล้ายกับเป็นการสนทนาตอบโต้กันระหว่างผู้รับกับผู้ส่งนั่นเองตัวอย่างของ protocol ในชั้นนี้ คือ RPC,SQL,Netbios,Windows socket,NFS เป็นต้นLayer4,Transport Layer
เป็น Layer ที่มีหน้าที่หลักในการแบ่งข้อมูลใน Layer บนให้พอเหมาะกับการจัดส่งไปใน Layer ล่าง ซึ่งการแบ่งข้อมูลนี้เรียกว่า Segmentation ,ทำหน้าที่ประกอบรวมข้อมูลต่างๆที่ได้รับมาจาก Layer ล่าง และให้บริการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้นระหว่างการส่ง (error recovery) ทำหน้าที่ยืนยันว่าข้อมูลได้ถูกส่งไปถึงยังเครื่องปลายทางและได้รับข้อมูล ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว หน่วยของข้อมูลที่ถูกแบ่งแล้วนี้เรียกว่า Segment ตัวอย่างของ protocol ในชั้นนี้คือ TCP,UDP,SPX
Layer3,Network Layer
เป็น Layer ที่มีหน้าที่หลักในการส่ง packet จากเครื่องต้นทางให้ไปถีงปลายทางด้วยความพยายามที่ดีที่สุด (best effort delivery) layer นี้จะกำหนดให้มีการตั้ง logical address ขึ้นมาเพื่อใช้ระบุตัวตน ตัวอย่างของ protocol นี้เช่น IP และ logical address ที่ใช้คือหมายเลข ip นั่นเอง layer นี้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ซึ่งที่ทำงานอยูบน Layer นี้คือ router นั่นเอง protocol ที่ทำงานใน layer นี้จะไม่ทราบว่าpacketจริงๆแล้วไปถึงเครื่องปลายทางหรือไม่ หน้าที่ยืนยันว่าข้อมูลได้ไปถึงปลายทางจริงๆแล้วคือหน้าที่ของ Transport Layer นั่นเอง หน่วยของ layer นี้คือ packet ตัวอย่างของ protocol ในชั้นนี้คือ IP,IPX,Appletalk
Layer2, Data Link Layer
รับผิดชอบใน การส่งข้อมูลบน network แต่ละประเภทเช่น Ethernet,Token ring,FDDI, หรือบน WAN ต่างๆ ดูแลเรื่องการห่อหุ้มข้อมูลจาก layer บนเช่น packet ip ไว้ภายใน Frame และส่งจากต้นทางไปยังอุปกรณ์ตัวถัดไป layer นี้จะเข้าใจถึงกลไกและอัลกอริทึ่มรวมทั้ง format จอง frame ที่ต้องใช้ใน network ประเภทต่างๆเป็นอย่างดี ในnetworkแบบEthernet layer นี้จะมีการระบุหมายเลข address ของเครื่อง/อุปกรณ์ต้นทางกับเครื่อง/อุปกรณ์ปลาทางด้วย hardware address ที่เรียกว่า MAC Address MAC Address เป็น address ที่ฝังมากับอุปกรณ์นั้นเลยไม่สามารถเปลี่ยนเองได้ MAC Address เป็นตัวเลขขนาด 6 byte, 3 byte แรกจะได้รับการจัดสรรโดยองค์กรกลาง IEEE ให้กับผู้ผลิตแต่ละราย ส่วนตัวเลข 3 byte หลังทางผู้ผลิตจะเป็นผู้กำหนดเอง หน่วยของ layer นี้คือ Frame ตัวอย่างของ protocol ในชั้นนี้คือ Ethernet,Token Ring,IEEE 802.3/202.2,Frame Relay,FDDI,HDLC,ATM เป็นต้น
Layer1, Physical Layer
Layer้เป็นการกล่าวถึงข้อกำหนดมาตรฐานคุณสมบัติทาง กายภาพของฮาร์ดแวร์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้ง2ระบบ สัญญาณทางไฟฟ้าและการเชื่อมต่อต่างๆของสายเคเบิล,Connectorต่างๆ เช่นสายที่ใช้รับส่งข้อมูลเป็นแบบไหน ข้อต่อหรือปลั๊กที่ใช้มีมาตรฐานอย่างไร ใช้ไฟกี่โวลต์ ความเร็วในการรับส่งเป็นเท่าไร สัญญาณที่ใช้รับส่งข้อมูลมีมาตรฐานอย่างไร Layer1 นี้จะมองเห็นข้อมูลเป็นการรับ-ส่งที่ละ bit เรียงต่อกันไปโดยไม่มีการพิจารณาเรื่องความหมายของข้อมูลเลย การรับส่งจะเป็นในรูป 0 หรือ 1 หากการรับส่งข้อมูลมีปัญหาเนื่องจากฮาร์ดแวร์ เช่นสายขาดก็จะเป็นหน้าที่ของ Layer1 นี้ที่จะตรวจสอบและแจ้งข้อผิดพลาดนั้นให้ชั้นอื่นๆที่อยู่เหนือขึ้นไปทราบ หน่วยของ layer นี้คือ bits ตัวอย่างของ protocol ในชั้นนี้คือ CAT5,CAT6,RJ-45,EIA/TIA-232,V.35cable เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

blog my friends!!

นายยุทธชัย หาไชย www.mememejung.blogspot.com
นายสุดที่รัก โพพนม www.tiruk15.blogspot.com
นางสาวกรรณิการ์ ฤทธฺิิ์์ิิิิรุ่งwww.Jukduy.blogspot.com
นางสาวนิตยา ศรีสิงห์ www.nittaya13.blogspot.com
นางสาวนุสบา ครุฑสุวรรณ www.nutsba.blogspot.com
นางสาวปัทมวรรณ ชีด้าม www.Patama13.blogspot.com
นางสาวพลับพลึง สังสนา www.newyear7134.blogspot.com
นางสาวสุชาดา โจ๊ะประโคน www.Dajung2010.blogspot.com
นางสาวอรุณรัตน์ ใหมคำ www.poopae555.blogspot.com
นายอภิลักษณ์ หม่อมพะเนาว์ www.Zoo-Ruk.blogspot.com
นางสาวประภัสสร ยาทองไชย www.praputson2.blogspot.com
นางสาวพรวิมล นามโต www.Namtho999.blogspot.com
นางสาววาสนา สันทัน www.Santan9899.blogspot.com
นางสาวเสาวลักษณ์ คำผุย www.Swlkkhampui.blogspot.com
นายอภิสิทธฺิ์์์์ บัวชิต www.apisit-loveyou.blogspot.com
นางสาวจันทร์มณี จรัสแสง www.Koonstitchclub.blogspot.com
นางสาวจิตหทัย แดนรักษ์ www.Thaicok.blogspot.com
นางสาวประภัสสร งามแสง www.Tangtonnalove.blogspot.com
นางสาวพิมพ์ภัค ไกรเกียรติสกุล www.Pimpakk486.blogspot.com
นางสาวสุภาพร เพ็ชรไชย www.petchai222.blogspot.com
นางสาวสุภาลัย วงไชยา www.kimhyonjung.blogspot.com
นางสาวสุรัสวดี โมครัตน์ www.surut16.blogspot.com
นางสาววรรณพร ตั้งซุยยัง www.forgetmenot_fernway.blogspot.com
นางสาวเกวลิน ศรีทิน www.sorry-lin.blogspot.com
นางสาวมินตรา ชีด้าม www.Mintra-abnormal.blogspot.com
นางสาวเสาวลักษณ์ หาไชย www.DowandMok.blogspot.com
นางสาวอารดา แฮนหลุน www.Cheesekra.blogspot.com
นางสาวสุภาพร โถชัยคำ www.ae andtama.blogspot.com
นางสาวขวัญใจ พรหมพิมพ์ www.pigred.blogspot.com
นางสาวปติณยา แฮนหลุน www.blogspot.com
นางสาวกัญญาวีร์ หลินภู www.tukinpo.blogspot.com
นาง สาวจริยา ซีด้าม www.Toulex5.blogspot.com
นางสาวณัฐพร ลอยพิลา www.loypila.blogspot.com
นางสาวสมพร เรืองจรัส www.kapook16.blogspot.com
นางสาวอมรรัตน์ วรพงษ์ www.Mayrrhung.blogspot.com
นายอธิวัฒน์ เปล่งศรี www.Bigbody11.blogspot.com

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กระดังงาไทย

กระดังงาไทย


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cananga odorata Hook.f. & Thomson var. odorata
ชื่อสามัญ : Ylang-ylang Tree
วงศ์ : ANNONACEAE
ชื่ออื่น : กระดังงา, กระดังงาใบใหญ่ , กระดังงาใหญ่, สะบันงา, สะบันงาต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-20 ม. มีรอยแผลใบขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วไป กิ่งตั้งฉากกับลำต้นปลายย้อยลู่ลง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่ยาว ปลายแหลม โคนมนหรือเว้าและเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น ใบอ่อนมีขนทั้ง 2 ด้าน ใบแก่มักมีขนมากตามเส้นแขนงใบและเส้นกลางใบ ช่อดอกสั้น ออกห้อยรวมกันบนกิ่งเหนือรอยแผลใบ ช่อหนึ่งๆ มี 3-6ดอก ดอกใหญ่ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยม มีขน กลีบดอกเรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ แต่ละกลีบรูปขอบขนานปลายแหลม มีขน ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย กลีบชั้นในแคบกว่าชั้นนอกเล็กน้อย โคนกลีบด้านในสีม่วงอมน้ำตาล ดอกอ่อนกลีบสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เกสรเพศเมียมีหลายอัน อยู่แยกกัน ผลเป็นผลกลุ่ม อยู่บนแกนตุ้มกลม 4-15 ผล แต่ละผลรูปไข่ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเขียวคล้ำจนเกือบดำ มี 2-12 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน รูปไข่แบน
สรรพคุณ :
ดอกแก่จัด - ใช้เป็นยาหอมบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ แก้ลมวิงเวียน ชูกำลังทำให้ชุ่มชื่น ให้น้ำมันหอมระเหย ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง น้ำอบ ทำน้ำหอม ใช้ปรุงยาหอม บำรุงหัวใจ
ใบ, เนื้อไม้ - ต้มรับประทาน เป็นยาขับปัสสาวะพิการ
วิธีใช้ :
ใช้ดอกกลั่น ได้น้ำมันหอมระเหย
การแต่งกลิ่นอาหาร ทำได้โดยนำดอกที่แก่จัด ลมควันเทียนหรือเปลวไฟจากเทียนเพื่อให้ต่อมน้ำหอมในกลีบดอกแตก และส่งกลิ่นหอมออกมา แล้วนำไปเสียบไม้ ลอยน้ำในภาชนะปิดสนิท 1 คืน เก็บดอกทิ้งตอนเช้า นำน้ำไปคั้นกะทิ หรือปรุงอาหารอื่นๆ
สารเคมี : ใน ylang -ylang oil มีสารสำคัญคือ linalool , benzyl benzoate p-totyl methylether, methylether, benzyl acetate

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ดอกแก้ว


ดอกแก้ว




ต้นแก้ว นั้นก็เป็นไม้มงคลอีกชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกกันมากเพราะดอกแก้วนั้นมักจะส่งกลิ่นหอมเย็น อย่างน่าชื่นใจอันเป็นเสน่ห์ของต้นไม้ชนิดนี้


แก้วหมายถึง สิ่งที่ดีมีค่าสูงเป็นที่ยกย่องยอมรับของคนทั่วไป ดังที่เรามักจะได้ยินคนโบราณเปรียบ ของที่มีคุณค่าสูงว่าเป็น “ดั่งดวงแก้ว”


แก้ว อาจจะหมายความถึง ความใสสะอาดและความสดใส ดังนั้นคนโบราณจึงเชื่อกันว่า ครอบครัวที่ปลูกต้นแก้วไว้ภายในบริเวณบ้าน สมาชิกทุกคนก็จะมีจิตใจบริสุทธิ์สะอาด เบิกบานแจ่มใสราวกับความใสของแก้วเลยทีเดียวและยังเชื่ออีกว่า การปลูกต้นแก้วนั้นจะช่วยเพิ่มความเป็นสิริมงคลให้กับบ้าน เพราะคนในบ้านก็จะได้รับแต่สิ่งที่ดีงาม ประพฤติดีและได้รับการยกย่องจากคนทั่วไป เรายังมักจะนำดอกแก้ว ซึ่งมีกลิ่นหอมเย็นนั้นไปบูชาพระ และนำไปประกอบพิธีทางศาสนา จึงถือว่าเป็นดอกไม้ที่บริสุทธิ์เหมาะสำหรับนำไปบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพิ่มความงดงามของจิตใจได้อีกด้วย

วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ฟองเต้าหู้ผัก


ฟองเต้าหู้ผัก


ส่วนผสม

ฟองเต้าหู้

2 แผ่น
ถั่วงอกเด็ดหาง 1 ถ้วย
เห็ดหูหนูซอย 1 ถ้วย
แครอทหั่นฝอย 1 ถ้วย
ถั่วแขกหั่นเฉียง 1/2 ถ้วย
ซีอิ๊วขาว 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันพืชสำหรับ ผัด

2 ช้อนโต๊ะ

น้ำมันพืชสำหรับ ทอด 4 ถ้วย
ต้นหอม ใบผักชี ผักสำหรับตกแต่ง


วิธีทำ
1. ตั้งกระทะใช้ไฟกลาง ใส่น้ำมันพอร้อน ใส่แครอท ใส่ถั่วแขก เห็ดหูหนู ผัดพอสุก ใส่ถั่วงอก ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว ผัดพอผักสุกทั่ว ตักใส่ถ้วยสำหรับเป็นไส้
2. ฟองเต้าหู้พรมน้ำพอนิ่ม ตัดเป็นแผ่นขนาด 5x5 นิ้ว จำนวน 4 แผ่น ใส่ไส้ที่ทำไว้ประมาณ 3 ช้อนโต๊ะ ทาแป้งเปียกพับด้านซ้ายขวา ม้วนให้แน่น ทำจนหมด
3. ตั้งกระทะใช้ไฟกลางใส่น้ำมันพอร้อน ใส่ฟองเต้าหู้ที่ห่อไว้ ทอดจนสุกเหลือง ตักวางบนกระดาษซับมัน
4. หั่นเป็นชิ้นพอคำ จัดใส่จาน ตกแต่งด้วยต้นหอมและใบผักชี เสิร์ฟพร้อมซอสพริก

หมายเหตุ
ทำ แป้งเปียกโดยผสมแป้งสาลี 2 ช้อนโต๊ะ และน้ำ 3 ช้อนโต๊ะ ตั้งไฟคนจนสุกเหนียว

สรรพคุณ
- เต้าหู้ เป็นอาหารที่มีโปรตีนในปริมาณและคุณ ภาพไม่แพ้โปรตีนจากเนื้อสัตว์ จนมีผู้ให้ สมญา นามว่า เนื้อไม่มีกระดูก หรือ โปรตีนแห่งท้องทุ่ง ซึ่งเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย นอกจากนี้ยังมีไขมันที่มี ความจำเป็นกับร่างกายอีกด้วย และไม่มีคอเลส เตอรอล และมีวิตามิน เกลือแร่ต่างๆ เช่นแคล เซียม ฟอสฟอรัส และเลซิติน ที่ช่วยลด ระดับ คอเลสเตอรอลในเลือด และป้องกันเกล็ด เลือด แข็งตัว ทำให้ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ
- เห็ดหูหนู คุณค่าทางสมุนไพร ช่วยลดความดันโลหิต มีสารต้านมะเร็ง มีวิตามินช่วยในการดูดซึม
- แครอท สีส้มสดใสสว่างของแครอทช่วยดับความกลัวโรคมะเร็งได้ ใน แครอทมีเบต้า-แคโรทีนที่กำจัดสารก่อนมะเร็งที่อาจมากับควันบุหรี่ หรือแสงแดดแผดจัด สารนี้ป้องกันมะเร็งได้โดยเฉพาะมะเร็ง ในปอด ใครกินผักสด และผลไม้มากสม่ำเสมอ มีสารนี้ใน เลือดมากและใครมีมากก็ไม่ต้องเสี่ยงกับมะเร็งในปอด ลบ ความกลัวด้วยการกินแครอท ผักสดและผลไม้อื่นๆ - ผักชี แก้เจ็บคอ ริดสีดวงทวาร
- ถั่วแขก บำรุงร่างกาย ดับร้อน ขับปัสสาวะ รักษาอาการบวมน้ำได้